+++ แรงดันไฟฟ้า 5 แบบ ที่บุคคลสามารถสัมผัสได้ในสถานีไฟฟ้า +++
เมื่อเรายื่นอยู่ในบริเวณของสถานีไฟฟ้าหรือบริเวณที่มีการติดตั้งระบบรากสายดิน (Grid Conductor) และมีโครงสร้างที่เป็นเหล็กหรือตัวนำชนิดอื่นอยู่ใกล้ เมื่อเกิดกระแสไฟฟ้าแรงสูงลัดวงจรลงดินที่สถานีไฟฟ้าหรือเกิดผ้าผ่าลงบริเวณนั้น จะทำให้ค่าศักย์ไฟฟ้าที่พื้นดินมีค่าไม่เท่ากัน (Voltage Gradient) ทำให้คนที่อยู่บริเวณนั้นอาจจะต้องเผชิญกับแรงดันหรือศักย์ไฟฟ้าอันตราย 5 แบบดังนี้
1. Step Voltage (แรงดันย่างก้าว) : หากเราเดินอยู่ในตำแหน่งที่ 1 (ตามรูป) เท้าทั้งสองข้างที่สัมผัสพื้นดินจะได้รับค่าความต่างศักย์ไฟฟ้า เท่ากับ Es
2. Touch Voltage (แรงดันสัมผัส) : ถ้าเราจับต้องอุปกรณ์ไฟฟ้าในตำแหน่งที่ 2 (ตามรูป) เราจะได้รับค่าศักย์ไฟฟ้าที่แตกต่างกันระหว่างที่มือกับเท้า เท่ากับ Et
3. Mesh Voltage (แรงดันตาข่าย) : ถ้าเรายืนอยู่ในตำแหน่งที่ 3 (ตามรูป) และได้สัมผัสกับโครงสร้างที่เป็นโลหะซึ่งต่อลงดินลงที่ Grid Conductor โดยบังเอิญตำแหน่งที่เรายืนอยู่นั้น คือจุดที่เป็นศูนย์กลางระหว่าง Ground Grid Conductors ซึ่งมีค่าศักย์ไฟฟ้าต่ำที่สุดพอดี แต่มือสัมผัสกับส่วนที่มีค่าศักย์ไฟฟ้าสูงที่สุด ค่าความต่างศักย์ระหว่างมือและเท้าจะเท่ากับ Em โดยกรณีนี้จะถือว่าเป็นกรณีที่รุนแรงที่สุดของ Touch Potential ถ้าเราออกแบบ Ground Grid ให้เป็นตารางขนาดเท่าๆกันตลอดทั้งพื้นที่ ค่า Mesh Potential จะสูงที่สุดที่ขอบของ Ground Grid คือริมรั้วของสถานีไฟฟ้า
4. Metal to Metal Touch Voltage (แรงดันสัมผัสระหว่างตัวนำโลหะกับโลหะ) : ถ้าเราสัมผัสระหว่างตัวนำโลหะกับโลหะ ในตำแหน่งที่ 4 (ตามรูป) โดยมือทั้ง 2 ข้าง หรือเท้า 2 ข้างหรือมือกับเท้าก็ได้สัมผัส
5. Transferred Voltage (แรงดันถ่ายโอน) : ถ้าเรายื่นอยู่ในตำแหน่งที่ 5 (ตามรูป) เป็นตำแหน่งที่อยู่นอกแนวเขตรั้วของสถานีไฟฟ้า เนื่องจากมีตัวนำไฟฟ้าเชื่อมต่ออกไปจากลานไกไฟฟ้า ถ้าเราสัมผัสกับโครงสร้างที่เป็นตัวนำไฟฟ้าดังกล่าว เราจะได้รับค่าศักย์ไฟฟ้าที่แตกต่างกันระหว่างที่มือและเท้า ยิ่งตำแหน่งที่ 5 ห่างออกจากแนวรั้วมากขึ้น ค่า Transferred Potential ก็ยิ่งสูงขึ้น สำหรับระยะที่ไกลมากๆ (Remote Earth) ค่า Transferred Potential ก็ยิ่งจะสูงขึ้นจนเท่ากับค่า Ground Potential Rise นั้นเอง