หลักสูตรประมาณราคางานระบบไฟฟ้าอย่างมืออาชีพ (ออนไลน์)

หลักการและเหตุผล

การประมาณราคาเป็นสิ่งสำคัญในงานก่อสร้างทุกๆโครงการไม่ว่าจะเป็นขนาดงานเล็กหรือใหญ่ จะต้องมีการประเมินราคาตั้งแต่ตั้งงบประมาณก่อสร้างจนถึงการประมาณราคาเพื่อหาผู้รับเหมาก่อสร้าง ดังนั้นผู้ที่มีหน้าที่ประมาณราคาหรือผู้รับเหมางานระบบไฟฟ้าจะต้องมีความสามารถในการอ่านแบบ แยกรายการวัสดุที่ต้องใช้ พร้อมทั้งประมาณราคาวัสดุ ค่าแรงติดตั้ง รวมถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินการทั้งหมดได้อย่างถูกต้องใกล้เคียงกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจริง (ต้นทุน) เพื่อที่จะได้ยื่นใบเสนอราคาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม (ราคาขาย) โดยที่ได้บวก(กำไร)เอาไว้เรียบร้อยแล้ว และการประมาณราคางานระบบไฟฟ้าและสื่อสารนั้นเป็นงานที่ต้องใช้ความละเอียดรอบคอบ หากผู้ประเมินราคายังขาดประสบการณ์และเทคนิคต่างๆ หรือมีความรู้ด้านงานระบบไฟฟ้าและการติดตั้งไม่มากเพียงพอ ก็อาจจะส่งผลให้การประมาณราคาผิดพลาดได้ ซึ่งอาจจะสูงเกินไปจนไม่ได้รับงาน หรืออาจะต่ำเกินไปจนขาดทุน ซึ่งหลักสูตรการประมาณราคางานระบบไฟฟ้าอย่างมืออาชีพนี้จะนำผู้เข้าอบรมไปทราบถึงขั้นตอน การทำราคา ตั้งแต่เริ่มรับเอกสารจนกระทั่งส่งใบเสนอราคาอย่างละเอียดทุกขั้นตอน พร้อมทั้งนำเสนอเทคนิคและเกร็ดความรู้ต่างๆ และสามารถนำไปใช้ได้จริง

วัตถุประสงค์

  1. ผู้อบรมจะได้มองเห็นภาพรวมของขั้นตอนการประมูลงานและรูปแบบการบริหารงานก่อสร้างว่ามีรูปแบบอย่างไรบ้าง
  2. ผู้อบรมจะได้รู้จักกับวัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในระบบไฟฟ้ากำลังและระบบสื่อสารทุกรายการที่จะต้องไปปรากฎในใบเสนอราคา ร่วมถึงทำความเข้าใจรายละเอียดหลักการทำงาน, หน้าที่, ข้อกำหนด(สเปค) และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้งวัสดุอุปกรณ์นั้นๆ อย่างครบถ้วน
  3. ผู้อบรมจะได้ทำความเข้าใจการอ่านแบบงานระบบไฟฟ้าและระบบสื่อสาร รวมถึงรายละเอียดประกอบแบบได้อย่างถูกต้อง และสามารถเข้าใจส่วนที่สำคัญๆต่างๆที่มีระบุอยู่ในแบบว่ามีส่วนใดที่เป็นปัจจัยส่งผลต่อราคา
  4. ผู้อบรมจะสามารถเข้าใจถึงวิธีการถอดรายการวัสดุอุปกรณ์จากแบบได้ รวมถึงการเผื่อความยาว และเปอร์เซ็นต์ต่างๆ ในระบบต่างๆ พร้อมทั้งการกรอกรายการในใบเสนอราคาได้อย่างถูกต้อง
  5. ผู้อบรมจะได้เข้าใจถึงขั้นตอนการขอใบเสนอราคาจากผู้ขายหรือตัวแทนจำหน่าย พร้อมทั้งเข้าใจถึงเงื่อนไขและรายละเอียดที่ระบุอยู่ในใบเสนอราคาของผู้ขายได้อย่างถูกต้อง
  6. ผู้อบรมจะได้เข้าใจการคิดค่าแรงแบบต่างๆ และเลือกใช้ได้อย่างถูกต้องกับงานที่จะนำเสนอราคา
  7. ผู้อบรมจะได้ทราบถึงค่าใช้จ่ายต่างๆที่จะเป็นต้นทุนในการดำเนินการก่อสร้าง อย่างครบถ้วนทุกรายการ
  8. ผู้อบรมสามารถเข้าใจถึงการกำหนดราคาในการเสนอราคาได้อย่างเหมาะสม
  9. ผู้อบรมสามารถเข้าใจการนำเสนอ VE/CD เพื่อเป็นทางเลือกให้กับลูกค้า
  10. ผู้อบรมสามารถเขียน Scope of work ได้อย่างครบถ้วนถูกต้อง

” ในหลักสูตรจะรวบรวมเทคนิคต่างๆ ในการประมาณราคาตั้งแต่พื้นฐานจนถึงขั้นประยุกต์ นำไปใช้งานได้จริง “

วิทยากร

           นายปกรณ์ ปริยะวาที

           ผู้ก่อตั้งแฟนเพจ (Facebook) “ห้องไฟฟ้า” ที่เผยแพร่ความรู้และข่าวสารด้านงานระบบไฟฟ้า

           ประสบการณ์ทำงาน 17 ปี ในสายงานออกแบบและติดตั้งระบบไฟฟ้า

           ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาไฟฟ้ากำลัง วฟก.1177

เอกสารและข้อมูลที่ผู้อบรมจะได้รับ

  1. เอกสารสไลด์ประกอบการอบรม 800 หน้า (ไฟล์ PDF)
  2. ราคากลางค่าแรงของกรมบัญชีกลาง ฉบับล่าสุด (ไฟล์ PDF)
  3. ราคา Price list พร้อม Factor ค่าแรง (Manpower) ของวัสดุอุปกรณ์ชนิดและขนาดต่างๆ (ไฟล์ Excel)
  4. รายชื่อผู้จำหน่ายวัสดุอุปกรณ์งานระบบไฟฟ้าและสื่อสาร (ไฟล์ Excel)
  5. แบบฟอร์มตัวอย่างใบเสนอราคา (ไฟล์ Excel)
  6. โปรแกรมทำใบเสนอราคา (ไฟล์ Excel)

VDO บันทึกการอบรมรุ่นล่าสุดประกอบด้วย 19 บท (ความยาวประมาณ 16 ชั่วโมง)

  1. เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตรประมาณราคางานระบบไฟฟ้ามีอะไรบ้าง
  2. รูปแบบหลักการและรายละเอียดข้อกำหนดที่ควรระวังในการประมาณราคา
  3. การประมาณราคางานระบบไฟฟ้าแรงสูง HV/MV Incoming system
  4. การประมาณราคางานสถานีไฟฟ้าย่อย HV/LV Substation
  5. การประมาณราคาวงจรสายป้อน Main Feeder
  6. การประมาณราคาระบบแสงสว่าง Lighting system
  7. การประมาณราคาระบบ Emergency & Exit Light, Receptacle, Power supply, Lightning Protection
  8. การประมาณราคาระบบ Fire alarm, Public Address & AV system (1/3)

9. การประมาณราคาระบบ LAN, TEL & MATV system (2/3)

  1. การประมาณราคาระบบ CCTV, Access control, Panic alarm, Intercom, Nurse call, Master clock & BAS system (3/3)
  2. การคิดราคาวัสดุปกรณ์ (Unit Price) และการคิดราคาวัสดุแบบเหมา (1 Lot)
  3. การเผื่อปริมาณ
  4. การคิดค่าแรง (Labour Cost)
  5. การคิดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ (Expenses Cost)
  6. การเสนอราคาที่เหมาะสม (Submit Price) และการนำเสนอ VE/CD Plan
  7. การเขียน Scope of Work
  8. รูปแบบการกรอกราคาตามแบบสากล ( EIT Estimate Code)
  9. สรุปขั้นตอนการทำใบเสนอราคา
  10. โปรแกรมทำใบเสนอราคา

งานระบบไฟฟ้าของแต่ละอาคารมีอะไรบ้าง มีขั้นตอนการประมาณราคางานแต่ละระบบอย่างไร       

เราจะไล่ตั้งแต่- อ่านขอบเขตงานของแต่ละระบบ- อ่าน Spec/Drawing ของแต่ละระบบ

– ทำความเข้าใจอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในแต่ละระบบ

– มีอุปกรณ์และรายการอะไรบ้างที่จะอยู่ในใบเสนอราคา

– อุปกรณ์ที่ใช้แต่ละระบบ มี Brand อะไรบ้าง และใครเป็น Supplier ราคาเท่าไร

– อุปกรณ์แต่ละชนิดคิดค่าแรงอย่างไร

– การถอดของการเผื่ออย่างไร

– คิดค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นนอกจากค่าของค่าแรงยังจะมีค่าอะไรอีกบ้าง

– การกำหนดราคาเผื่อทำใบเสนอราคาอย่างเหมาะสม

– ข้อควรระวังต่างๆในการถอดของและทำราคาของแต่ละระบบ
เราจะมาเรียนรู้กัน แบบไม่ต้องมีพื้นฐานก็เข้าใจได้

ผู้ชำระเงินค่าอบรมหลักสูตรประมาณราคางานระบบไฟฟ้า (ออนไลน์)

จะได้สิทธิอะไรบ้าง

          1) ผมมีไฟล์เอกสารประกอบการอบรมและโปรแกรมการทำราคาให้ โหลด

         2) แอดชื่อเข้ากลุ่มเพื่อดูวีดีโอหลักสูตรประมาณราคาของรุ่นที่ผ่านมาได้ แบบไม่หมดอายุ

         3) เชิญเข้ากลุ่ม VIP เพื่อรับข้อมูลข่าวสารทุกวัน

         4) ไม่เข้าใจตรงไหนสายตรงถึงผมได้ตลอดเวลา

        *** เอกสารทุกอย่างที่ให้จะมี update ให้ทุกครั้งที่จัดการอบรมรอบใหม่ และจะส่งลิงค์ให้ update ด้วยครับ

• หากท่านใดสนใจสามารถสอบถามรายละเอียดโดยกดลิงค์นี้นครับ https://line.me/ti/p/l14uLx9EGy

Line ID : 0815508587

เรามีกลุ่ม VIP ไว้สำหรับพูดคุยสอบถามข้อมูลต่างๆ

ตัวอย่างการพูดคุยในกลุ่ม VIP  www.facebook.com/pg/ElectricalRm/photos/?tab=album&album_id=1939535746059816

 

อัตราค่าลงทะเบียน 4,000 บาท ติดต่อสอบถามข้อมูล

นายปกรณ์ ปริยะวาที  โทร.081-550-8587 ,

Email : pakorn.p77@gmail.com ,

หากท่านใดสนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโดยตรงกับผู้จัดหลักสูตร

กดลิงค์นี้นะครับ https://line.me/ti/p/l14uLx9EGy

Line ID : 0815508587

“การประมาณราคา คือ การคำนวณค่าใช้จ่ายต่างๆที่จะเกิดขึ้นในการติดตั้งระบบไฟฟ้าให้สมบูรณ์และสามารถใช้งานได้ตามแบบที่ออกแบบไว้อย่างถูกต้อง”

มาเรียนรู้เทคนิคต่างๆในการทำใบเสนอราคางานระบบไฟฟ้าใน #หลักสูตรประมาณราคางานระบบไฟฟ้าอย่างมืออาชีพ

รูปแบบการประมูลงาน หลักการประมาณราคา และรายละเอียดข้อกำหนดที่ควรระวัง (มีหัวข้ออะไรบ้าง)

– การประมูลและการบริหารงานก่อสร้างมีรูปแบบอะไรบ้าง และเขาทำกันอย่างไร

– งานแบบมีบริษัทผู้ออกแบบและบริษัทที่ปรึกษา กับงานในแบบรับเหมาเบ็ดเสร็จ มีข้อดีข้อเสียอย่างไร

– ปกติแล้วมูลค่างานก่อสร้าง 1 โครงการจะประกอบไปด้วยงานในส่วนต่างๆอะไรบ้าง และมีสัดส่วนโดยประมาณเท่าไร

– การประมาณราคามีความสำคัญอย่างไร

– อะไรคือปัจจัยที่มีผลต่อการประมาณราคาที่ผิดพลาด

– ผู้ประมาณราคา ควรจะต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง

– ประเภทของการประมาณราคา มีกี่ประเภท แต่ละประเภทใช้ในการกำหนดราคาก่อสร้างหรือแผนงานในส่วนใด

– ลักษณะของการเสนอราคามีกี่แบบ และแต่ละแบบมีข้อดีข้อเสีย และมีรายละเอียดแตกต่างกันอย่างไร และเหมาะสมกับงานก่อสร้างแบบไหน

– หัวใจของการประมาณราคาคืออะไร

        

“ทำอย่างไรถึงจะได้งานโดยไม่ขาดทุนและมีกำไรที่เหมาะสม”

– ในรายละเอียดข้อกำหนดทั่ว เราจะต้องมองหาให้เจอมีอะไรบ้าง ถ้าไม่เจอให้สอบถาม เพราะทุกข้อที่จะโฟกัสให้มีความสำคัญกับการทำราคาและเงื่อนไขและข้อตกลงในการทำงาน

– ค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นตั้งแต่ขั้นตอนการประมูลราคา ซึ่งมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

– แบบในงานก่อสร้างมีกี่แบบ และมีระบบอะไรบ้าง และในการประมาณราคาจะต้องมีแบบอะไรบ้างที่ขาดไม่ได้

– งานในระบบไฟฟ้าที่อยู่ในงานก่อสร้างมีระบบอะไรบ้าง

– งานในระบบเครื่องกลที่อยู่ในงานก่อสร้างมีระบบอะไรบ้าง

– การทำราคางานระบบไฟฟ้าจะต้องรู้ข้อกำหนดและมาตรฐานอะไรบ้าง เพราะเราต้องรู้ว่ามาตรฐานการติดตั้งกำหนดไว้ว่าอย่างไร ในแบบอาจจะมีรายละเอียดไม่ทั้งหมด

 

“ผู้ออกแบบมักเขียนคำว่าให้ผู้รับเหมาติดตั้งให้เป็นไปตามมาตรฐานและข้อกำหนดเสมอ”

ก่อนจะประมาณราคาได้

…สิ่งที่จำเป็นเรื่องแรก คือ อ่านแบบได้ และต้องรู้จักอุปกรณ์หลักๆที่ใช้ในแต่ละระบบ ว่ามีกี่แบบกี่ประเภท แต่ละประเภทมีข้อแตกต่างกันอย่างไร ทั้งในส่วนของการติดตั้ง ส่วนประกอบต่างๆที่จะต้องใช้ รวมถึงราคาว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร หากไม่เข้าใจในส่วนนี้ก่อนแล้ว อาจจะทำให้การถอดรายการอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในแต่ละระบบงานไม่ครบถ้วนตกหล่น ทำให้การเสนอราคาที่ออกมาผิดพลาด … ซึ่งในหลักสูตรนี้จะปูพื้นฐานความเข้าใจถึงวัสดุอุปกรณ์และส่วนประกอบของรายการต่างๆในการทำใบเสนอราคาที่ครบถ้วนของแต่ละระบบงาน สอนให้ดูแบบและอ่านแบบ ดูว่าสิ่งสำคัญที่เป็น key อยู่ที่ตรงไหนของแบบของแต่ละระบบ

ในรูป(ที่แนบ)เป็นแบบตัวอย่างของระบบไฟฟ้า MV Incoming และ Sub-station work (ยังมีอีกหลายระบบทั้ง Power และ Communication ที่จะนำเสนอในแนวคิดเดียวกันคือ ต้องรู้จักอุปกรณ์หลักๆของแต่ละระบบ อ่านแบบได้ เข้าใจภาพรวม … เมื่อเข้าใจพื้นฐาน เข้าใจกระบวนการทำราคา รวมถึงเทคนิคต่างๆ และหาประสบการณ์ ศึกษาเพิ่มเติม แค่นี้คุณก็สามารถประมาณราคาอย่างมืออาชีพได้แล้ว … แล้วเจอกันนะ)

• หากท่านใดสนใจสามารถสอบถามรายละเอียดโดยกดลิงค์นี้นะครับ

https://line.me/ti/p/l14uLx9EGy

Line ID : 0815508587

การประมาณราคางานระบบ HV Incoming (ส่วนการรับไฟฟ้าแรงสูงจากการไฟฟ้าเข้าโครงการ) มีเนื้อหาอะไรบ้าง

– ขอบเขตของงานในส่วนแรงสูงมีอะไรบ้าง เริ่มจากจุดไหน ไปถึงตรงไหน อะไรที่การไฟฟฟ้าจัดเตรียมและอะไรที่อยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าของโครงการ และส่วนของผู้รับเหมา / มีอุปกรณ์อะไรบ้างที่อยู่ในใบเสนอราคาของงานในส่วนนี้ / สามารถอ่านแบบ สัญลักษณ์ได้ และเข้าใจสเปคของอุปกรณ์เพราะมีความสำคัญกับราคาอย่างมาก ดังนั้นการเข้าใจสเปคของอุปกรณ์ที่ผู้ออกแบบกำหนดจึงมีความสำคัญอย่างมาก

– การเดินสายไฟแรงสูงเข้าโครงการทั้งแบบที่รับไฟแบบ Overhead และแบบ Underground มีรายละเอียดและข้อกำหนดอะไรบ้าง

– การกำหนดค่าของการเผื่อระยะความยาวและค่าแรงของการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าในระบบ HV incoming คิดอย่างไร

– ในระบบนี้มีข้อควรระวังอะไรบ้างในการถอดของและการทำราคา

การถอดความยาวท่อสาย (ท่อร้อยสายไฟและสายไฟ)

ระบบที่ยุ่งยากที่สุดคงไม่มีระบบอะไรที่ยุ่งยากเท่ากับการถอดท่อสายของระบบ Lighting แต่หากมีเวลาน้อยแบบจวนตัวจะต้องส่งราคาแล้ว เราจะมีเทคนิคในการประมาณความยาวท่อสายอย่างไร ซึ่งในหลักสูตรจะนำเสนอเทคนิคต่างๆที่ได้ใช้มาและได้ทำข้อมูลเก็บสถิติแล้วตรวจสอบความถูกต้องว่าค่าที่ออกมานั้นอยู่ในค่าที่ย่อมรับได้ ซึ่งสามารถนำไปใช้งานได้จริง มาเรียนรู้เทคนิคต่างๆใน #หลักสูตรประมาณราคางานระบบไฟฟ้าอย่างมืออาชีพ

 

“การเผื่อปริมาณ…เผื่อเท่าไรดี…ไม่มีสูตรตายตัว แต่มีหลักการคิดอย่างไร ที่เป็นไปตามเหตุและผลโดยไม่ทำให้มีราคาแพงเกินไปและขาดเมื่อต้องสั่งของใช้จริง มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเผื่อปริมาณของงานแต่ละระบบกันว่าควรจะอยู่ที่เท่าไรถึงจะเหมาะสมที่สุด รวมถึงเรียนรู้เทคนิคการถอดความยาวของระบบต่างๆกันใน #หลักสูตรการประมาณราคางานระบบไฟฟ้าอย่างมืออาชีพ”

ระบบสื่อสาร (Communication system)

เป็นระบบที่ขาดไม่ได้สำหรับอาคารในปัจจุบัน หากเปรียบงานก่อสร้างคือกระดูก งานสถาปนิกคือผิวหนัง งานระบบ M&E คือเส้นเลือด งานระบบไฟฟ้าสื่อสารก็คงเป็นเหมือนเส้นประสาทต่างๆของอาคาร ปัจจุบันอาคารมีความซับซ้อนมากขึ้นการสื่อสารแต่ละระบบ (เช่น LAN system, Telephone system, CCTV system, Fire alarm system หรือระบบ BAS system) ก็จะต้องมีระบบเชื่อมต่อกันเป็น Network ดังนั้นสิ่งสำคัญในการประมาณราคางานระบบสื่อสารคือต้องเข้าใจระบบการทำงานและอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบนั้นๆ และระบบ Network ก็เป็นอีกระบบหนึ่งที่ช่างไฟยังขาดความเข้าใจและมีข้อสงสัยต่างๆ เช่น

– Bandwidth คืออะไร ?

– Server คืออะไร ?

– Router คืออะไร ?

– HUB กับ Switch เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ?

– ความเร็วของการส่งสัญญาณมีผลต่อการเลือกใช้สายสัญญาณและอุปกรณ์ต่างๆสายต่างๆอย่างไร ?

– ตู้ Rack 6U, 12U, 15U, 27U, 42U คืออะไร ?

– อุปกรณ์ที่อยู่ในตู้ Network Rack มีอะไรบ้าง ?

– สาย UTP ย่อมาจากออะไร ?

– สาย UTP ชนิด Cat 5, 5e, 6, 6A ใช้งานแตกต่างกันอย่างไร ?

– ทำไมความยาวสาย UTP จะต้องเดินได้ไม่เกิน 100 เมตร เกินมาสัก 10 เมตรได้หรือไม่ ?

– เมื่อไรต้องใช้สาย UTP เมื่อไรต้องใช้สาย Fiber Optic ?

– สาย F.O มีกี่แบบและใช่งานแตกต่างกันอย่างไร ?

– สาย F.O ควรใช้กี่ Core ?

– สาย F.O 9/125, 50/125, 62.5/125 คืออะไร ?

– สาย Muti-Mode (MM) และ Single Mode (SM) ใช้งานแตกต่างกันอย่างไร ?

– การเข้าหัวสาย F.O มีกี่แบบ ?

– เมื่อไรจะต้องใช้ Media Converter ?

– UTP Patch Panel และ F.O Patch Panel คืออุปกรณ์อะไร หน้าตาเป็นอย่างไร ?

– สาย Patch Cord คืออะไร ควรใช้กี่เมตรดี ?

– ราคาการเข้าหัวสาย UTP, หัว F.O เขาคิดกันอย่างไร ?

– หากในสเปคระบุให้ต้องมีการทนสอบสายจะต้องคิดราคาอย่างไร ?

*** และยังมีเทคนิคการประมาณราคางานระบบสื่อสารแยกรายละเอียดแต่ละระบบอย่างละเอียดอะไรที่จะต้องระวังและอ่านและทำความเข้าใจระบบได้อย่างถูกต้องเพื่อให้ทำราคาได้ถูกต้องที่สุด ***

• หากท่านใดสนใจสามารถสอบถามรายละเอียดโดยกดลิงค์นี้นะครับ http://line.me/ti/p/EFN-t2HKZZ

“การถอดของ (Take off materials) คือ การนับและวัดจำนวนและความยาวของวัสดุอุปกรณ์จากแบบ ภายใต้เงื่อนไขข้อกำหนด (specification)”

  

มาเรียนรู้เทคนิคต่างๆของการถอดปริมาณวัสดุของงานระบบไฟฟ้าและสื่อสารแต่ละระบบใน #หลักสูตรประมาณราคางานระบบไฟฟ้าอย่างมือ

ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire alarm system) เป็นส่วนหนึ่งของงานที่อยู่ใน Scope ของงานระบบไฟฟ้า

ก่อนจะทำราคาระบบ Fire alarm system หากไม่มีความรู้เกี่ยวกับระบบก็คงไม่รู้จะเริ่มอย่างไร

– ในหลักสูตรฯ จะเริ่มตั้งแต่ทำความรู้จักอุปกรณ์และส่วนต่างๆของระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง

– และสอนเทคนิคการเลือกอุปกรณ์ตรวจจับที่เหมาะสม เราจะใช้ Smoke หรือ Heat ดี (หากเข้าใจในส่วนนี้แล้ว ก็สามารถเข้าใจถึงปรัชญาของการเป็น Fire engineer แล้วละ)

– จากนั้นก็มาทำความรู้จักว่าระบบ Fire alarm มีกี่ระบบกี่ประเภท และ Module แต่ละประเภทใช้งานแตกต่างกันอย่างไร

– และการเดินสายแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร และวงจรส่วนไหนที่ต้องใช้สายเป็นสายทนไฟ

– ระบบผจญเพลิง Fire Protection System ที่ระบบ Fire alarm system ต้องทำงานร่วมกันมีอะไรบ้าง

– เมื่อรู้จักอุปกรณ์และภาพรวมทั้งหมดแล้วการถอดอุปกรณ์เพื่อขอราคากับผู้ขาย หรือถอดของเพื่อลงใน BOQ ก็ไม่ต้องกังวลว่าจะตกหรือหลุดในส่วนใดไปบ้าง เพราะเราเข้าใจถึงระบบและอุปกรณ์ทั้งหมดที่ต้องใช้แล้ว

สไลต์นี้เป็นแค่ส่วนหนึ่งของหัวข้อระบบ Fire alarm system ซึ่งอยู่ในส่วนของงานระบบ COMMUNICATION SYSTEM ซึ่งยังมีอีกหลายระบบที่จะได้เรียนรู้กัน ใน #หลักสูตรประมาณราคางานระบบไฟฟ้าอย่างมืออาชีพ

การคิดค่าแรง คิดอย่างไรดี กะเอาได้มั้ย มั่วๆไปละกัน 555 
ในหลักสูตรจะมีแนะนำการคิดค่าแรงที่เหมาะสมจากการคิดจาก Man-power และจะมีค่า man-power ของอุปกรณ์แต่ละชนิดให้ด้วย แถมด้วยราคากลางฉบับล่าสุดของกรมบัญชีกลางปี 2560 ลองเปรียบเทียบราคาทั้งสองที่มาว่ามันแตกต่างกันอย่างไร

ถ้าจะให้ได้งานต้องทำราคาให้ต่ำกว่าราคากลางนะ แต่ต้องอยู่บนเงื่อนไขของค่าแรงที่เกิดขึ้นจริง (ไม่ขาดทุน)
งั้นก็ต้องกลับไปศึกษาวิธีคิดต้นทุนแบบ man-power กันแล้วละว่าวัสดุแต่ละตัวราคาค่าแรงควรอยู่ที่เท่าไร แต่สำหรับงานเล็กๆ กะๆเอาก็ได้นะครับ 😊

” ถ้าอยากรู้ว่าในแต่ละพื้นที่นั้นๆหรือแต่ละประเทศ มีราคาค่าแรงแตกต่างกันเท่าไร วิธีง่ายที่จะช่วยในการวัดคือไปลองกินข้าวดูว่าในพื้นที่นั้นแต่ละมื้้อเราจะต้องจ่ายค่าอาหารมื้อละเท่าไร ”
เพราะค่าแรงในแต่ละประเภทงานและในแต่ละพื้นที่หรือแต่ละประเทศนั้นค่าแรงคนงานจะไม่เท่ากัน และความสามารถของแรงงานแต่ละประเทศก็ไม่เท่ากัน ดังนั้นการคิดค่าแรงแบบกำหนด Unit rate แบบตายตัวทุกๆงานจึงเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะมันไม่ได้สะท้อนราคาต้นทุนที่แท้จริง ลองมาทำความเข้าใจการคิดค่าแรงแบบ Man-Power rate ตามแบบที่สากลเขาคิดกันว่าเป็นอย่างไรใน #หลักสูตรประมาณราคางานระบบไฟฟ้าอย่างมืออาชีพ

  

“นอกจากค่าของค่าแรงแล้วยังมีค่าอะไรอีกอย่างที่มีผลต่อการประมาณราคา นั้น คือค่าใช้จ่ายทางอ้อม (Indirect cost) หรือ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ (Expenses) “

การประมาณราคาไม่ใช่แค่มีค่าของและค่าแรง แต่มีค่าใช้จ่ายอย่างหนึ่งที่สำคัญมากๆ คือ ค่าใช้จ่ายแฝง (indirect cost) ซึ่งหากไม่สามารถประมาณค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ออกมาได้ แน่นอนที่สุดคำว่าเข้าเนื้อ คงหนีไม่พ้นเมื่อจบโครงการ หรืออาจอยู่ไม่จบโครงการ เพราะไม่ได้คาดการณ์ไว้หรือคิดไม่ถึงว่าจะมีค่าใช้จ่ายนี้อยู่ มาเรียนรู้กันว่าในงานแต่ละโครงการจะมีค่าใช้จ่ายเหล่านี้เท่าไรอะไรบ้างและคิดประมาณอย่างไร (คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของปริมาณงาน) ขึ้นอยู่กับปัจจัยอะไรบ้าง ปริมาณงาน ระยะเวลา และอีกๆหลายเงื่อนไข มาเรียนรู้เรื่องนี้กันใน#หลักสูตรประมาณราคางานระบบไฟฟ้าอย่างมืออาชีพ

“VE/CD แนวทางการนำเสนอราคาในปัจจุบัน”

การเสนอราคาในยุคนี้จะมาแข่งกันที่ราคาใครถูกที่สุด แล้วได้งานนั้น คงเป็นไปไม่ได้แล้ว เพราะหากทำเช่นนั้น ไม่มีผลดีทั้งผู้เสนองานและผู้จ้าง

ผู้จ้างก็อาจจะได้สิ่งที่ไม่ดี เพราะผู้รับเหมาก็จะเสนออุปกรณ์ต่างๆที่มีคุณภาพต่ำงานติดตั้งก็ดูไม่สวย เพื่อให้อยู่ในงบประมาณที่ผู้จ้างขอลดมา และในส่วนของผู้รับเหมาเองก็อาจจะขาดทุนและเข้าเนื่อเจ็บตัว แบบที่เป็นๆกันมา เพราะการแข่งราคากันโดยวิธีลดราคาโดยการแข่งกันไปเรื่อยๆนั้น จะไม่ใช่แนวทางการนำเสนอราคาในยุคนี้อีกต่อไป ดังนั้น การนำเสนอตัวเลือกให้กับผู้จ้าง ไว้เป็นตัวเลือกจึงเป็นอีกแนวทางในการลดราคาได้อย่างมืออาชีพ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพและงานบริการที่จะเกิดขึ้น

มาเรียนรู้เทคนิคต่างๆด้วยกันนะครับ เรามีกลุ่มเรียนรู้แบบไม่หมดอายุในกลุ่ม VIP 

“ประมาณราคางานระบบไฟฟ้าอย่างมืออาชีพ (หลักสูตรออนไลน์) “

อัตราค่าลงทะเบียน 4,000 บาท 

หากท่านใดสนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโดยตรงกับผู้จัดหลักสูตร

กดลิงค์นี้นะครับ

https://line.me/ti/p/l14uLx9EGy

Line ID : 0815508587

มาเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรที่มีการเรียนรู้จากหน้างานจริงและคำถามจากเพื่อนสมาชิก เป็นการเรียนรู้แบบไม่รู้จบ และไม่หมดอายุสมาชิก กันนะครับ