ทำไมกฎหมายเมืองไทยถึงกำหนดความสูงของอาคารที่ 23 เมตรขึ้นไป ถึงจะถือว่าเป็น “อาคารสูง”

ทำไมกฎหมายเมืองไทยถึงกำหนดความสูงของอาคารที่ 23 เมตรขึ้นไป ถึงจะถือว่าเป็น “อาคารสูง” ตาม พรบ. ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 (กฎกระทรวงฉบับที่ 33 พ.ศ.2535) ?#อาคารสูง ตามกฎหมาย หมายถึง “อาคารที่บุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้โดยมีความสูงตั้งแต่ 23.00 เมตรขึ้นไป การวัดความสูงของอาคารให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงพื้นดาดฟ้า สำหรับอาคารทรงจั่วหรือปั้นหยาให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงยอดผนังของชั้นสูงสุด”NPFA (National Fire Protection Association) ของประเทศอเมริกา ได้กำหนดความสูงของอาคารไว้หากความสูงอาคารสูงกว่า 75 ฟุต จะถือเป็นอาคารสูง (High-Rise Building) ซึ่ง 1 ฟุต = 30.48 ซม. ดังนั้น 75×30.48 = 22.9 ม. นี้อาจจะเป็นที่มาของกฎหมายเมืองไทยที่กำหนดให้อาคารที่สูงตั้งแต่ 23 ม. จัดเป็นอาคารสูงแล้วทำไม NFPA กำหนดความสูงอาคารสูงไว้ที่ 75 ฟุต ซึ่งความสูงนี้นำมาจากความสูงที่อุปกรณ์ผจญเพลิงพื้นฐาน เช่น บันได และสายดับเพลิงของพนังงานดับเพลิงสามารถปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*