มาตรฐานตู้ Type Test, TTA, PTTA คืออะไร

มาตรฐาน IEC 61439-2 กับ IEC-60439-1 และ มอก.1436-2540 เหมือนและแตกต่างกันอย่างไร

IEC61439-2 คือมาตรฐานตัวใหม่ จะไม่มี Partial Type-tested Assembly (PTTA) แล้ว มีแต่ Fully Type-tested Assembly หรือตู้ TTA เดิม แต่ตัวใหม่มีการทดสอบ Type Test เพิ่มขึ้นมาอีก 5 ข้อ จากเดิมทดสอบ 7 ข้อ เป็น 12 ข้อ (ไม่รวม Routine test 3 ข้อเดิม) แต่ตู้ที่มี มอก.1436-2540 นั้นยังอ้างอิง IEC 60439-1 ตัวเก่า แบบ PTTA อยู่

—————————————————————–^_^

#หลักสูตรประมาณราคางานระบบไฟฟ้าอย่างมืออาชีพรุ่น(ออนไลน์)

รายละเอียดหลักสูตร
https://electricalroomthailand.com/esitmateelectircalonline/

หากสนใจสามารถสอบถามรายละเอียดโดยการทักมาที่ https://line.me/ti/p/l14uLx9EGy


การทดสอบแบบ TYPE TEST คืออะไร

Fully Type-Tested Assembly ชนิด License คำตอบของการเลือกผู้ผลิตที่ได้มาตราฐาน เพื่อบรรลุเป้าหมายด้านวิศวกรรม ในเรื่องความปลอดภัย ความเชื่อถือ ความมั่นคง ความมีเสถียรภาพ ต่อระบบไฟฟ้า มาตรฐาน TYPE TEST เป็นมาตรฐานการทดสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีขั้นตอนมากและยังเป็นการทดสอบที่มีการวัดค่าความแข็งแรงและการป้องกันที่มีมาตรฐานสูง ซึ่งปัจจุบันการทดสอบTYPE TESTยังไม่มีหน่วยงานใดภายในประเทศไทยที่สามารถจัดการทดสอบตามมาตรฐานนี้ได้ ดังนี้ผู้ผลิตที่ได้รับ License มาตรฐานTYPE TEST ที่ผลิตอยู่ภายในประเทศไทยจึงต้องทำการยื่นขอการทดสอบแก่หน่วยงานที่อยู่ต่างประเทศเท่านั้น
มาตรฐาน TYPE TEST สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือแบบที่ทำการทดสอบทั้งหมด (TTA) และ การทดสอบบางชิ้นส่วน (PTTA) ซึ่งมีข้อดีข้อเสียต่างกันอย่างคร่าวๆดังนี้

1.การทดสอบแบบบางชิ้นส่วน(PTTA)

ตู้ MDB Main Distribution Board สามารถเข้ารับการทดสอบ type-tested assembly (TTA) หรือจะส่งเฉพาะบางชิ้นส่วนของตู้ตู้ MDB Main Distribution Board ก็ได้ ที่เรียกว่า partially type-tested assembly (PTTA)

ข้อดี-เนื่องจากทดสอบเพียงบางชิ้นส่วน ขั้นตอนการทดสอบ ตลอดจนอุปกรณ์และเทคนิคที่ใช้ทดสอบจึงมีไม่มาก จึงรวดเร็วและต้นทุนในการทำการทดสอบจึงไม่สูงมาก

ข้อเสีย-การทดสอบบางชิ้นส่วน (PTTA) นี้เป็นการทดสอบมาตรฐานของวัสดุหรืออุปกรณ์ที่นำมาเข้าประกอบ ซึ่งจะนำมาใช้วัดเป็นมาตรฐานความปลอดภัยอย่างแท้จริงยังไม่ได้เพราะขั้นตอนการทดสอบไม่ได้รวมถึงการออกแบบ การประกอบ และการใช้งานจากอุปกรณ์นั้นทั้งระบบอย่างการทดสอบแบบทั้งหมด (TTA)

2.การทดสอบแบบทดสอบทั้งหมด (TTA)

แบบ TYPE TEST คือการประกอบอุปกรณ์ (ตู้ MDB Main Distribution Board ) ตามแบบที่ได้ทำการส่งทดสอบ ซึ่งได้รับการยืนยันว่าผ่านตามมาตราฐานการทดสอบแบบTYPE TESTแล้ว โดยผู้ผลิตจะต้องประกอบอุปกรณ์ถอดตามแบบดั่งเดิมตามที่เคยส่งทดสอบอันได้รับมาตราฐานดังกล่าวนั้น ดังนี้ถ้ามีการประกอบอุปกรณ์ (ตู้ MDB Main Distribution Board ) ซึ่งผิดไปจากแบบที่ได้เคยยื่นส่งตรวจมาตรฐานดังกล่าว จะไม่สามารถอ้างมาตรฐาน TYPE TEST แก่อุปกรณ์อันประกอบผิดไปจากแบบดั่งเดิมได้

ข้อดี-เนื่องจากทดสอบแบบทั้งหมดนี้เป็นการทดสอบการทดลองใช้งานจากอุปกรณ์เต็มรูปแบบ ซึ่งต้องวัดประสิทธิภาพของอุปกรณ์ทุกชิ้นที่ประกอบเข้ากัน ทั้งแบบโครงสร้าง วัสดุอุปรณ์ที่ใช้ โดยตรวจสอบจากผลลัพธ์ของขีดวัดสูงสุดของมาตรฐานในส่วนชิ้นงานนั้นๆ

ข้อเสีย-การทดสอบแบบทั้งหมด (TTA) นี้เป็นการทดสอบมาตรฐานของวัสดุหรืออุปกรณ์ทุกชิ้นและมีขั้นตอนที่มาก ใช้ความชำนาญด้านเทคนิคมากและใช้อุกรณ์เยอะ ทั้งยังต้องสำรองอุปกรณ์ที่จะใช้ในการทดสอบอีก จึงทำให้ต้นทุนในการทำการทดสอบสูงมาก โดยผู้ผลิตที่ได้รับ License TYPE TEST (TTA) จะอ้างมาตรฐานนี้ได้ต้องเป็นการอ้างต่อผลิตภัณฑ์ที่ผลิตตามแบบที่ได้ยื่นขอมาตรฐานไว้โดยต้องผลิตให้ตรงตามแบบเท่านั้น ถ้ามีการแก้ไขแบบหรือผลิตไม่ตรงตามแบบที่เคยยื่นขอมาตรฐานไปก็จะไม่สามารถอ้าง License TYPE TEST (TTA) ได้

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*