พิกัดกระแสของ circuit breaker ที่ควรรู้จักมี 3 ตัวคือ
(1) • Ampere Trip (AT) เป็นพิกัดกระแส handle rating ซึ่งบอกให้รู้ว่าสามารถทนกร ะแสใช้งานในภาวะปกติได้สูงส ุดเท่าใด มักแสดงค่าไว้ที่ name plate หรือด้ามโยกของเบรคเกอร์ ซึ่งมาตรฐานของ NEC 1990 paragraph240-6 กำหนดดังนี้ 15 , 60 , 70 , 80 , 90 , 100 , 110 , 125 , 150 , 175 , 200 , 225 , 250 , 300 , 350 , 400 , 450 , 600 , 700 , 800 , 1000 , 1200 , 1600 , 2000 , 2500 , 3000 , 4000 , 5000 , 6000 A.
ในกรณีที่ขนาดอุปกรณ์ของผู้ ผลิตบางรายไม่มีค่าตรงกับค่ าที่กำหนด ก็สามารถเลือกใช้ค่าที่สูงข ึ้นไปแทนได้ สิ่งควรรู้เพิ่มเติมก็คือ พิกัดการทนกระแส ของเบรคเกอร์ถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ
o standard circuit breaker ในที่นี้หมายถึงชนิด th ermal magnetic ซึ่งถ้านำเอาเบรคเกอร์ชนิดน ี้ไปใช้กับโหลดต่อเนื่อง จะปลดวงจรที่ 80 % ของพิกัดกระแสเบรคเกอร์
o 100% rated circuit breaker แบบนี้ถ้านำไปใช้กับโหลดต่อ เนื่อง จะตัดวงจรที่พิกัดกระแสของเ บรคเกอร์ แต่จะมีเฉพาะสินค้าของอเมริ กาเท่านั้น
(2) • Ampere Frame (AF) พิกัดกระแสโครง ซึ่งหมายถึงพิกัดการทนกระแส สูงสุดของเบรคเกอร์ในรุ่นนั ้นๆ Ampere Frame มีประโยชน์คือ สามารถเปลี่ยนพิกัด Ampere Trip ได้โดยที่ขนาด (มิติ) ของเบรคเกอร์ยังคงเท่าเดิม ค่า AF ตามมาตรฐาน NEMA มีดังนี้ 50 , 100 , 225 , 250 , 400 , 600 , 800 , 1000 , 1200 , 1600 , 2000 , 2500 , 4000 , 5000 AF
(3) • Interrupting Capacity (IC) เป็นพิกัดการทนกระแสลัดวงจร สูงสุดโดยปลอดภัยของเบรคเกอ ร์นั้นๆ โดยปกติกำหนดค่าการทนกระแสเ ป็น KA. ค่า IC จะบอกให้รู้ว่าเบรคเกอร์ที่ ใช้นั้นมีความปลอดภัยมากน้อ ยเพียงใด การเลือกค่ากระแส IC จะต้องรู้ค่ากระแสลัดวงจร ณ. จุดนั้นๆ เสียก่อน
ตามมาตรฐาน IEC947-2 แล้วสามารถแบ่งเป็น 4 ประเภทคือ
1) Icu หรือ Icn (Rated short-circuit breaking capacity)
หมายถึงพิกัดการทนกระแสลัดว งจรสูงสุดโดยปลอดภัยของเบรค เกอร์ ตามมาตรฐานแล้วจะระบุเป็นค่ า r.m.s ของกระแสไฟสลับ โดยถือว่าส่วนประกอบ transient กระแสตรง (ค่า DC. Transient ) เป็นศูนย์ พิกัดกระแสดังกล่าวในภาคอุต สาหกรรมเรียกว่า ค่า Icu (Rated ultimate s.c. breaking capacity) ส่วนภาคที่อยู่อาศัยเรียกว่ า Icn ปกติจะมีหน่วยเป็น KA r.m.s. การทดสอบค่า Icu หรือ Icn ตามมาตรฐาน IEC มี 3 ลักษณะคือ
• Operating sequences(open-close/ open) คือการทดสอบการทนกระแสลัดวง จร โดยทำการปิดและเปิดวงจร ของเบรคเกอร์ขณะมีกระแสลัดว งจร
• Current and voltage phase displacement คือการทดสอบการทนกระแสลัดวง จรที่ค่า power factor ต่างๆ กัน ซึ่งพบว่าถ้า power factor = 1 จะปลดวงจรง่ายกว่า และถ้า power factor มีค่าต่ำเท่าใดการปลดวงจรยิ ่งทำได้ยากเท่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับความเป็นจริ งที่ว่าระบบไฟฟ้าส่วนใหญ่เป ็น lagging power factor และยิ่งมีกระแสลัดวงจรสูงเท ่าใด (อยู่ใกล้ generator หรือหม้อแปลงขนาดใหญ่) ค่า power factor ก็ยิ่งต่ำลง
• Dielectric withstand capability คือการทดสอบความเป็นฉนวนของ โครง (case) ของเบรคเกอร์ หลังจากการ short-circuit ไปแล้วว่ายังคงสภาพการเป็นฉ นวนอยู่หรือไม่
2) Icm (Rated making capacity)
หมายถึงพิกัดการทนกระแสลัดว งจรสูงสุดที่เป็น peak current ที่เบรคเกอร์ สามารถทนได้ และทำการปลดวงจรแบบทันทีทัน ใด (instantaneous) โดยไม่มีการหน่วงเวลาที่แรง ดันพิกัด (rated voltage) ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดในระ บบไฟฟ้ากระแสสลับ ค่ากระแส peak มีความสัมพันธ์กับค่า Icu ด้วยตัวคูณ (k factor) ซึ่งต่างกันไปตามค่า power factor ของกระแสลัดวงจร ดังนี้
– (Icu) มากกว่า 6KA ถึง 10KA -> (power factor) = 0.5 -> (Icm) = 1.7xIcu
– (Icu) มากกว่า 10KA ถึง 20KA -> (power factor) = 0.3 -> (Icm) = 2xIcu
– (Icu) มากกว่า 20KA ถึง 50KA -> (power factor) = 0.25 -> (Icm) = 2.1xIcu
– (Icu) มากกว่า 50KA -> (power factor) =0.2 -> (Icm) = 2.2xIcu
3) Icw (Rated short-time withstand current)
ค่านี้ขึ้นอยู่กับประเภทของ switchgear แรงต่ำ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ
1. ชนิด A คือระบบ switchgear ที่ไม่มีความต้องการให้มีกา รหน่วงเวลาในการทำงานของอุป กรณ์ magnetic trip (เป็นการปลดวงจรโดยอาศัยอำน าจแม่เหล็ก) ได้แก่ molded case circuit breaker ทั่วไป ดังนั้น molded case CB. จึงไม่มีค่า Icw
2. ชนิด B คือระบบ switchgear ที่สามารถหน่วงเวลาในการปลด วงจรได้ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถทำการ ปลดวงจรเป็นลำดับขั้น (discrimination) ในระบบ โดยเบรคเกอร์ตัวที่อยู่ใกล้ กระแสลัดวงจรที่สุดควรปลดวง จรก่อน ดังนั้นตัวที่อยู่ถัดไป (โดยเฉพาะตัว main) ต้องทนกระแสลัดวงจรซึ่งสูงก ว่าและเป็นเวลาที่นานกว่าได ้ โดยตัวมันเองไม่ปลดวงจรและไ ม่เสียหาย ค่าพิกัดและกระแสการลัดวงจร สูงสุดที่เบรคเกอร์ทนได้ในก รณีที่ต้องหน่วงเวลาเช่นนี้ เรียกว่า short-time withstand current rating (Icw) โดยปกติค่า Icw จะถูกระบุหรือทดสอบกับเบรคเ กอร์แบบ electronic trip เช่น Air circuit breaker หรือ molded case ประเภท heavy duty
กล่าวโดยสรุป Icw คือค่ากระแสลัดวงจรสูงสุดสำ หรับเบรคเกอร์ชนิด B ที่สามารถทนได้ทั้งผลทางด้า นอุณหภูมิ , ความเค้นและ ความเครียดจากสนามแม่เหล็กท ี่เกิดขึ้น โดยตัวมันเองไม่เสียหายในช่ วงเวลาหนึ่ง ตามที่โรงงานผู้ผลิตระบุ
4) Ics (Rated service short short-circuit breaking capacity)
เป็นค่าที่บอกให้รู้ว่าเมื่ อเบรคเกอร์ปลดวงจรหลังจากเก ิดการลัดวงจรครั้งแรกแล้ว เบรคเกอร์ตัวนั้นจะสามารถทน กระแสลัดวงจร ในครั้งถัดไปได้เท่าเดิมหรื อไม่โดยเทียบกับค่า Icu โดยระบุเป็นเปอร์เซ็นต์ของค ่า Icu เช่น 25 , 50 , 75 และ 100%
เช่นเบรคเกอร์ตัวหนึ่งระบุค ่า Ics = 0.5 Icu หมายความว่าเมื่อเบรคเกอร์ป ลดวงจรหลังจากเกิดการลัดวงจ รครั้งแรกแล้ว เบรคเกอร์ตัวนั้นจะสามารถทน กระแสลัดวงจร ในครั้งถัดไปได้เท่ากับ 50% ของ Icu
* คัดลอกจากวารสารโอมห์ แมกกาซีน ฉบับที่1 มิถุนายน-สิงหาคม 2000 ในเครือ schneider electric*
ขอบคุณครับผม
^_^